การเคลื่อนไหวทางการเมือง ของ เบนจา อะปัญ

เบนจา อะปัญ เข้าเรียนที่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาด้านวิศวกรรม.[2] ซึ่งทำให้ได้เข้าร่วมกับแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เคลื่อนไหวปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ทลายเพดานการเคลื่อนไหวแบบเดิมอย่างสิ้นเชิงกับแกนนำอย่างปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลและเพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์[3]

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2563 ในขณะที่แกนนำการเคลื่อนไหวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 อานนท์ นำภายังไม่ได้รับการปล่อยตัว เบนจาได้เป็นหนึ่งในผู้นำการเคลื่อนขบวนประท้วงในหน้าสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย เพื่อกดดันพระมหากษัตริย์ที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมัน[4] การประท้วงนี้มีคนเข้าร่วมกว่า 10,000 คน จากการสังเกตของ Nikkei Asia[5] 3 วันให้หลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจทุ่งมหาเมฆได้ฟ้องเบนจาและแกนนำวันนั้นเช่น มายด์ ภัสราวลี ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่น[6]

เบนจาเริ่มต้นการปราศรัยครั้งแรกที่ม็อบตุ้งติ้ง2 ที่สีลม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ในเรื่องการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์[7]

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2564 เบนจาได้ไปประท้วงถือป้าย "ผูกขาดวัคซีน หาซีนให้เจ้า" ที่ไอคอนสยาม ศูนย์การค้าที่สยามพิวรรธน์ (ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น) และเครือซีพีเป็นเจ้าของ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นเจ้าของบริษัทสยามไบโอไซน์ที่ผลิตวัคซีน เบนจาถูกคุกคามและทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ของไอคอนสยาม ทำให้ได้รับความสนใจจากสื่อ[8][9]

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 เบนจาและกลุ่มนักเรียนนักศึกษาไปประท้วงที่หน้าศาลอาญาเพื่อส่งจดหมายเรียกร้องการประกันตัวนักเคลื่อนไหวที่กำลังอดอาหารในเรือนจำ เช่น พริษฐ์ โดยนำเอกสารที่ล่ารายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 10,000 ชื่อ แนบมาด้วย เบนจาได้เรียกร้องให้ ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันตัว ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวออกมา เบนจาได้โปรยกระดาษที่มีรายชื่อนั้นบนบันไดหน้าศาล และกล่าวว่านักศึกษาไม่ใช่ภัยความมั่นคงแต่อย่างใด แต่อยากที่จะพัฒนาสังคมไทยและสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมาย[10]

เบนจานำแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯจัดคาร์ม็อบที่แยกราชประสงค์ขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม และเคลื่อนขบวนไปหน้าอาคารซิโนไทยของรองนายกรัฐมนตรีอนุทิน ชาญวีรกุล และได้ปราศรัยเกี่ยวกับการจัดการวัคซีนของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาที่เอื้อให้กับนายทุนโครงสร้างของเขาเอง ซึ่งกล่าวโยงไปถึงพระมหากษัตริย์[11]

เบนจาถูกจับกุมในวันที่ 7 ตุลาคม ในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ในประเด็นการปราศรัยเรียกร้องปฎิรูปสถาบันกษัตริย์วันที่ 10 สิงหาคม และไม่ได้รับการประกันตัว เบนจาถูกนำตัวคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางจนถึงปัจจุบัน[12]

ใกล้เคียง

เบนจามิน แฟรงคลิน เบนจามิน โจเซฟ วาร์นี เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต เบนจามิน จุง ทัฟเนล เบนจามิน เนทันยาฮู เบนจามิน แฮร์ริสัน เบนจา อะปัญ เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ เบนจามิน ทอมป์สัน เบนจามิน ดิสราเอลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบนจา อะปัญ https://thematter.co/brief/128110/128110 https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/2010... https://www.bbc.com/news/world-asia-53770939 https://www.nationthailand.com/news/30401483 https://asia.nikkei.com/Politics/Turbulent-Thailan... https://prachatai.com/english/node/9026 https://prachatai.com/english/node/9213 https://prachatai.com/english/node/9393 https://prachatai.com/english/node/9488 https://www.reuters.com/article/thailand-protests/...